ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)

การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa)
ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์ ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa) เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่ ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์
ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน

โรคของช้าง

โรคของช้าง แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่ก็อาจเป็นโรคได้ เช่นเดียวกับสัตว์อื่น ช้างที่ ถูกกักขังและอยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มีโอกาสติดโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่าย ส่วนช้างที่ทำงานในป่า มักจะเกิดเป็นฝี และโรคผิวหนังพุพองกันมาก ฝีอาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการถูกหนามทิ่มตำผิวหนัง แล้วเกิดเป็นหนองบวมพองขึ้นมา ผิวหนัง ที่พุพองเป็นตุ่ม นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันป่าชนิดหนึ่ง มาไข่ไว้ตามรูขนของช้าง เมื่อไข่ของแมลงวันกลายเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเข้า ไปอาศัยในขุมขน แล้วดูดเลือดช้างกินเป็นอาหาร ช้างที่เป็นโรคนี้จะสังเกตเห็นผิวหนังเป็นตุ่มมีหนอง เมื่อแกะตุ่มออกจะพบตัวหนองกลม ๆ ขนาดเท่า เมล็ดถั่วเขียวฝังตัวอยู่ เมื่อตัวหนอนแก่ก็จะกลายเป็นแมลงวันป่ามารบกวนช้างอีก แล้วทิ้งคราบไว้ในรูขนที่มัน อาศัยอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดอักเสบเป็นตุ่มมีหนองขึ้น วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ ให้ช้างได้อาบน้ำบ่อย ๆ ชาวบ้านได้ ใช้เครือสะบ้าทุบเป็น ฝอยถูตัวช้างเวลาอาบน้ำ เพื่อฆ่าตัวอ่อนของแมลงวันชนิดนี้ นับว่าได้ผลดีพอสมควร โรคที่ช้างเป็นกันมากอีกชนิด หนึ่ง คือ โรคพยาธิฟิลาเรีย (filaria) โรคนี้เกิดจากยุงในป่า ซึ่งไปกัดสัตว์ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมากัดช้าง พยาธิที่ติดมากับแมลงจะเข้าไปใน เส้นโลหิตและเจริญเติบโตในเส้นโลหิตของช้าง แล้วเข้าไปอุดตันในหัวใจ จนทำให้ช้างถึงแก่ความตาย

ลัทธินีโอคลาสสิค (Neo-Classic)

a href=”https://ansupawadee.wordpress.com/wp-content/uploads/2012/02/upload-ne9yz55.gif”>

1. ลัทธินีโอคลาสสิค (Neo-Classic)(ค.ศ.1800) ลัทธินี้ ศิลปินเกิดหวนกลับไปมีค่านิยมการ

สร้างผลงานแบบกรีกและโรมันอีกครั้ง ซึ่งศิลปินเหล่านี้ชอบความเรียบร้อยและเคร่งครัดใน

ศิลปะแบบ โบราณ ลักษณะผลงานของลัทธินีโอคลาสสิค คือ มักเป็นภาพที่มีระยะใกล้ กลาง

ไกล หรือที่เรียกว่า Perspective ฉากหลังรูปวาดส่วนใหญ่มักมีอาคาร หรือ เสา ของกรีกหรือ

โรมัน มัก ใช้สีมืดๆเป็นระยะ เน้นหนักไปทางสีน้ำตาล ดำ เขียวและขาว ศิลปะแบบนีโอ

คลาสสิครุ่งเรืองอยู่ได้เพราะได้รับการส่งเสริม จากระบอบ ปฏิวัติของพระเจ้านโปเลียน

พวกที่ปฏิวัติเองก็ชอบส่งเสริมให้มีการดำรงชีพที่เคร่งครัด แบบกรี กและโรมัน ศิลปินที่มีชื่อ

เสียงคือ เดวิด(David)(ค.ศ. 1748 – 1825) เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส ผลงานของเขามักเป็นการ

วาดภาพที่แสดงถึงความกล้าหาญของ วีรบุรุษ เช่น LE SERMENT DES HORACES ,

LA MORTDE MARAT คนต่อมาคือ แองก์(Ingres) (ค.ศ.1780-1867) ผลงานของเขาเป็น

แบบคลาสสิคเต็มที่ เขามักวาดภาพคนที่ร่ำรวย หน้าตาโหดเ***้ยมและพอใจในอำนาจเงิน

และภาพวาดหญิงสาวเปลือยของเขานั้นสวยงามมาก และแองก์ยังได้วาดภาพเกี่ยวกับเทพนิยายโบราณอีกด้วย

คาวมรุนแรงในครอบครัว

การปรากฎเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ” ฆ่าเมียพ้นคุก สั่งรอลงอาญา ชี้ ดร.พิพัฒน์ ทำเพราะโทสะ (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับที่ 278 วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545) และ ดร.ฆ่าเมีย ให้รอลงอาญา 3 ปี สอนเด็กอีก 50 ชม.” (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับที่ 16251 วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545) สร้างความแปลกใจให้กับผู้อ่านและผู้ที่ติดตามข่าวนี้มากที่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เรื่องทะเลาะวิวาทระหว่างสามีภรรยามีสาเหตุมาจากความรู้สึกส่วนตัวของจำเลยเอง กระทำความผิดเพราะอารมณ์โทสะที่เกิดขึ้นชั่วขณะทำร้ายภรรยาบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่งจนเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม คงจะต้องติดตามผลจากการตัดสินของศาลต่อไป กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นได้ในทุกสังคม Murray A. Straus (1977) ได้ศึกษาต่างวัฒนธรรมเรื่องการทะเลาะวิวาทระหว่างสามีภรรยา พบสาเหตุที่เป็นปัจจัยรุนแรงนำไปสู่การทะเลาะวิวาท 4 ประการ คือ
1. การบ่มเพาะความอึดอัดไม่พอใจระหว่างสามีภรรยาเป็นเวลานาน
2. กิจกรรมของครอบครัว และความสนใจของสามีภรรยาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เวลาของสามีและ
ภรรยาจะไม่ตรงกันในการกระทำกิจกรรมของครอบครัว
3. เวลาของสามีและภรรยามุ่งไปสู่การทำงานเฉพาะกิจของตนเองขาดความเอาใจใส่ต่อกัน
4. ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่สามีจะแสดงบทบาทผู้มีอำนาจเหนือต้องการให้ภรรยาสมยอมในทุกเรื่อง และทำให้ภรรยาต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาสามี โดยเห็นว่าการหย่าร้างจะนำผลร้ายมาสู่ลูกๆ

แนวคิดความสัมพันธ์ของครอบครัวเรื่องอำนาจและการแบ่งช่วงชั้นทางอำนาจ แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจของผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่าสามารถทำการควบคุมและสร้างอิทธิพลภายใต้ระบบความความสัมพันธ์ในครอบครัว เมื่อนำหลักแนวคิดระบบอาวุโสมาพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในระหว่างบทบาทหญิงและชาย จะพบว่าสถาบันต่างๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และศาสนา ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวว่าระบบอาวุโส ทำให้ผู้ชายมีบทบาทที่เหนือกว่าผู้หญิงระหว่างช่วงชีวิตสมรสในทุกด้าน สิ่งเหล่านี้ปรากฎให้เห็นต่อสังคมว่าผู้ชายสามารถมีอำนาจเหนือกว่าทางด้านอาชีพการงาน ด้านการเมือง และศาสนา ผู้หญิงเป็นเพศที่แสดงถึงผู้มีอำนาจที่น้อยกว่า ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ที่น้อยกว่า มีโลกของตนเองภายในบ้านและการเลี้ยงลูก การนำผลทางลบด้านชีวิตครอบครัวมาทำการศึกษาจะทำให้สังคมมีความเข้าใจภาวะวิกฤตที่เป็นปัญหาของครอบครัวสามารถที่จะทำการป้องกันแก้ไขเพื่อให้ครอบครัวมีความสันติสุข
ผลทางลบด้านชีวิตครอบครัว คือ ความรุนแรงในครอบครัว (Violence in the Family) สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การทำร้าย ทุบเฆี่ยนตีภรรยา (Wife Battering)
2. การกระทำทารุณต่อเด็ก (Child Abuse)

การทำร้าย ทุบเฆี่ยนตีภรรยา (Wife Battering)

การทำร้าย ทุบเฆี่ยนตีภรรยา เกิดขึ้นได้ทุกชนชั้นในสังคม (Lenore E. Walker) สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมาชิกครอบครัว (Steinmetz, 1977) ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและการพิพาทในครอบครัว ถ้าปล่อยทิ้งให้เป็นความขัดแย้งที่เรื้อรังไม่ได้ขจัดแก้ไข ผลสุดท้ายจะเกิดภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ นักวิชาการหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการใช้อำนาจอาวุโสระหว่างเพศ เช่น Goode (1971) และ O’Brien (1971) ได้เสนอว่า สามีที่ไม่ประสบความสำเร็จทางสังคมในหน้าที่การงาน มักจะแสดงความวิตกกังวลหงุดหงิดไปสู่ภรรยา Goode (1971) ได้สรุปว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นเมื่อสามีไม่สามารถมีสถานภาพทางสังคม ประสบความล้มเหลวต่อการมีอำนาจนอกบ้าน ไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสนับสนุนการมีอำนาจในบ้าน ประเด็นเหล่านี้ ต้องทำการศึกษาต่อไปอีก โดยจะต้องนำปัจจัยอื่นมาทำการศึกษา เช่น กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยความกดดันทางสังคม เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาด้านสุขภาพ

การกระทำทารุณต่อเด็ก (Child Abuse)

การกระทำทารุณต่อเด็ก เกิดขึ้นได้หลายสถานการณ์ตั้งแต่เรื่องความขัดสนด้อยโอกาส ขาดแคลนความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต ด้านอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ไปจนถึงเรื่องการขาดความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว การกระทำทารุณทางร่างกาย ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว นำไปเร่ขาย ทอดทิ้งให้อดอยากหิวโหย ต้องเร่ร่อนและการฆาตกรรมเด็กตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ การฆ่าทิ้งถ้าพบเป็นเพศหญิง และการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ บางประเทศที่อยู่ระหว่างการทำสงครามจะให้เด็กจับอาวุธ ทำหน้าที่เป็นทหาร และเด็กต้องตกเป็นเหยื่อจากการสู้รบตั้งแต่อายุระหว่าง 7 – 8 ขวบ การกระทำทารุณต่อเด็กที่นักวิชาการหลายท่านได้สรุปสาเหตุ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สังคมเกิดภาวะไร้ระเบียบวินัย รวมทั้งการเกิดสภาพความเป็นเมือง (Urbanization) ทำให้สังคมละทิ้งคุณค่าทางวัฒนธรรม และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวล้มเหลว ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำทารุณต่อเด็กยิ่งขึ้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัวศึกษา (Family Studies)
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัว หรือครอบครัวศึกษา ได้มีนักวิชาการใช้ทฤษฎีศึกษาหลายทฤษฎีโดยเฉพาะทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ เช่น ศึกษาครอบครัวด้านการหย่าร้างและปัญหาต่างๆ ของครอบครัว ปัจจุบัน นักวิชาการได้ใช้ทฤษฎีกระบวนการครอบครัว (family process) เข้ามาศึกษาโดยเน้นพัฒนาการมนุษย์ในระบบนิเวศวิทยา (Bronfenbrenner, 1979) โดยเสนอว่า บุคคลและสุขภาพครอบครัวเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนที่ต้องทำการศึกษาในเชิงความรู้สึกนึกคิด และสภาพแวดล้อม ในที่นี้จะเสนอการศึกษาด้านสุขภาพครอบครัว และความบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครองครัว หมายถึง การศึกษาครอบครัวจะทำหน้าที่อย่างไรให้ดีที่สุดตามที่ครอบครัวมุ่งหวัง และความหมายของสุขภาพครอบครัว คือ ครอบครัวประสบความสำเร็จต่อการปฏิบัติหน้าที่และบรรลุเป้าหมายตามที่มุ่งหวังไว้ ครอบครัวที่มีสุขภาพที่ดีจะต้องประกอบด้วย คุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ แต่มิได้หมายความว่าครอบครัวสุขภาพดีจะต้องมีครบองค์ประกอบทั้ง 6 ประการ
1. ทำความตกลงแหล่งการใช้อำนาจภายในครอบครัว
2. กำหนดกติกาและทำการตัดสินใจในการใช้กติกาอย่างมั่นคง
3. แสดงพฤติกรรมเชิงแลกเปลี่ยนความเอื้ออาทรในการพิทักษ์คุ้มครองซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ
4. ทำการเลี้ยงดูผู้เยาว์และเด็ก และรักษาสถานภาพชีวิตสมรสอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง
5. ทำการกำหนดเป้าหมายของครอบครัวที่สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วม
6. มีความยืดหยุ่นและการปรับตัวยอมรับพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างปกติ และรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

ครอบครัวสุขภาพดีจะต้องรู้จักการสื่อสารด้วยการพูด และทำความเข้าใจกันอย่างเปิดเผย รู้จักยอมรับและเข้าใจแนวคิดของแต่ละฝ่ายด้วยการตกลง ยอมรับมากกว่าการขัดแย้ง รูปแบบลำดับขั้นตอนการดำเนินชีวิตการแต่งงาน (Stages of a Marriage) ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตครอบครัวที่จะทำความเข้าใจถึงการผสมผสานความเป็นปัจเจกบุคคลในครอบครัว และการรับรู้ปฏิสัมพันธ์ต่อกันในช่วงชีวิตการแต่งงาน
1

ลักษณะและธรรมชาติของช้าง

ลักษณะและธรรมชาติของช้าง

ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์แข็งแรงมีกำลังมาก มีขาใหญ่ 4 ขา พื้นเท้าอ่อนนุ่มเมื่อช้างเดินจึงไม่ใคร่ไดยินเสียง ส่วนการนอนของช้างนั้นโดยธรรมชาติแล้ว ช้างจะนอนตะแคงตัวลำตัวกับพื้น และมีการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ตามปกติช้างจะนอนหลับในระยะเวลาสั้น เพียง 3-4 ชั่วโมง เวลานอนอยู่ในระหว่างเวลา 23.00 นาฬิกาถึง 03.00นาฬิกา ช้างไม่นอนกลางวันนอกจากมีอาการไม่สบาย
งวงช้างคือ จมูกของช้าง ยาวถึงพื้น ใช้หายใจและจับดึงยกลากสิ่งของต่าง ๆ ได้ และใช้หยิบอาการเข้าปาก ปลายงวงมีรูสองรู กลวงตลอดความยาวงวงช้าง งวงช้างไม่มีกระดูกอยู่ภาพใน จึงอ่อนไหวและแกว่งไปมาได้ง่าย งวงนี้ใช้อมน้ำและพ่นน้ำเล่นได้ เมื่อช้างจะดื่มน้ำจะใช้งวงดูดน้ำข้าไปเก็บไวในงวงก่อนแล้ว
จึงพ่นน้ำจากงวงเข้าในปากอีกทีหนึ่งงาช้างเป็นสิ่ง
ที่สวยงามและมีราคามากที่สุดในตัวช้าง งาช้างก็คือฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกออกจากขากรรไกรบนข้างละอัน งาช้างทั้งคู่มีสีขาวนวล เริ่มโผล่ใหเห็นเมื่อมีอายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างที่สวยงามจะต้องมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอจนเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ช้างใช้งาเป็นอาวุธป้องกันตัวต่อสู่กับสัตว์ร้าย
นัยน์ตาช้างมีตาเล็กมาก
เมื่อเทียบกับรูปร่างอันสูงใหญ่ แต่ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนดี และเห็นไดแต่ไกลใบหู
มีลักษณะคล้ายพัด โบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อช้างกางใบหูออกจะได้ยินเสียงจากที่ไกล ๆ ได้ดีขึ้น ช้างที่มีอายุมากใบหูจะม้วนลงมาและขอบล่างมักเว้าแหว่ง การเว้าแหว่งของขอบล่างใบหูอาจใช้คาดคะเนอายุของช้างได้อย่างคร่าว ๆ ถ้าใบหูเว้าแหว่งน้อยก็แสดงว่าอายุยังน้อย ถ้าเว้าแหว่งมากก็หมายถึงอายุมากหาง
หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวลงไปถึงเข่า ที่ปลายมีขนเส้นโตสีดำ ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว เรียงเป็น 2 แถว ตลอดความยาวของหางประมาณ 6-7 นิ้ว
จำนวนเล็บช้างมีนิ้วเท้าสั้นที่สุดจนเห็นแต่อุ้งเท้า มีเล็บโผล่ให้เห็นเป็นบางเล็บ ส่วนมากมี 18 เล็บ คือเท้าหน้าข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 4 เล็บ บางตัวมี 16 บางตัวมี 20 เล็บ

ความฉลาดของช้างไทย

ช้างไทย เป็นช้างเอเชีย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว สามารถนำมา
ฝึกใช้ในการใช้งาน ให้ทำตามคำสั่ง ของมนุษย์ได้
สรีระของช้างไทย ซึ่งเป็นช้างเอเชีย มีศรีษะ ใหญ่
มีมันสมองมาก ทำให้ช้างที่นำมาจากป่า เพื่อนำมาเลี้ยง เป็นช้างบ้าน
มีความสลาด สามารถสื่อสารกับมนุษย์ ผู้นำมาฝึก
คนเลี้องช้าง ควาญช้าง โดยเฉพาะที่เป็นชาวไทยกูย
หรือส่วย แห่งจังหวัดสุรินร์ จะมีความชำนาญ ในการฝึกช้างเป็นพิเศษ
ช้างไทย จัดเป็นสัตว์บก ขนาดใหญ่ ที่สามารถ สื่อสารกับมนุษย์ได้
กับภาษา พูดของมนุษย์ และอากัปกิริยา อาการ ที่สื่อสาร เข้าใจกันได้

ที่มาของวันช้างไทย

วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

ความสำคัญของช้างไทย

– ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย
ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็นรูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

– ช้างเป็นผู้ปกป้องเอกราชแห่งชาติไทย
ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชและความเป็นชาติให้แก่ชาวไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็นปึกแผ่นและมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้ทรงประกาศเอกราชและความเป็นชาติของคนไทยบนหลังช้างทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด โดยจากความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ทำให้ช้างไทยเชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”

– ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้นล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ

– ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้

– ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม
ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

– ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้

การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ นับว่าเหมาะสมมาก เพราะช้างสามารถเดินไปได้โดยไม่ทำลายกล้าไม้ต้นเล็กๆ ไม่ทำให้ดินแน่น ไม่ต้องตัดถนนหนทางให้มากเส้น นอกจากนี้ช้างยังขึ้นเขาได้ดี และมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี

ในปัจจุบัเมื่อมนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความนิยมในการใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง แต่ช้างก็ยังคงเป็นสัตว์ที่คนไทยทั้งชาติให้ความสำคัญเสมอดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้กำหนดให้ช้างเผือกเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดให้ทุกวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย

ความสำคัญของช้างต่อประวัติศาสตร์ ชาติไทย

ข้อความที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึก สุโขทัยหลักที่หนึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น “ช้าง” คือขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทรงประทับช้างนำราษฎรไปบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก จะเห็นได้ว่าทั้งในยามศึกและยามสงบช้างอยู่คู่แผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมา ช้างมีความสำคัญมากถึงเพียงนี้ จึงมีการสอนวิชาขับขี่ช้างซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับเจ้านายและลูกผู้ดีเพื่อยังประโยชน์ในการใช้ช้างเป็นพาหนะและเตรียมการเพื่อศึกสงคราม

ช้างใช้ในการศึกสงครามในอดีต ในสมัยโบราณ ช้างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญของกองทัพเปรียบได้กับรถถังประจัญบานของนักรบในปัจจุบัน ทว่าชัยชนะที่ได้รับนั้นจะดูสง่างามกว่าหลายเท่า เพราะมนุษย์ที่นั่งอยู่บนคอช้างต้องเชี่ยวชาญอาวุธของ้าว ใช้ความกล้าหาญไสช้างแต่ละเชือกพุ่งตรงเข้ารบปะทะกันตัวต่อตัว ช้างต่อช้างเข้าชนกันนั้น หากช้างของผู้ใดมีความสามารถมากกว่าก็จะงัดช้างศัตรูขึ้นด้วยงาจนแหงนหงาย หรือเบนบ่ายจนได้ที เพื่อให้แม่ทัพบนคอช้างส่งอาวุธเข้าจ้วงฟันคู่ต่อสู้ ช้างกับนักรบบนคอช้างจึงต้องมีกำลังแข็งแรงฝีมือเข้มแข็ง ทั้งคู่จึงจะได้ชัยชนะมาประดับเป็นเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน

การรบบนช้างหรือที่เรียกว่า ยุทธหัตถี นั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ไทย แต่ครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งคนไทยยังกล่าวขวัญจดจำไม่รู้ลืม คือ การยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หรือกว่า 400 ปีล่วงมาแล้ว